ค่ายธรรมะ

)                                                                                         
โครงการธรรมะร้อยดวงใจเข้าค่ายพุทธบุตร( พุทธบุตรรวมใจ)
หลักการและเหตุผล
                เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีความเจริญทางด้านวัตถุกับความเจริญทางด้านจิตใจ ไม่สมดุลย์กันและเหลื่อมล้ำต่อกัน  จึงทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ แต่ก่อนสังคมไทยเรามีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ เปี่ยม ด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นอยู่แบบสังคมพอเพียง คือพอกินพอใช้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน  แต่ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังหันไปหาค่านิยมสมัยใหม่ที่ผิด ๆ  มีนิสัยชอบฟุ้งเฟ้อหรูหรา  ยึดติดอยู่กับบริโภคนิยมและวัตถุนิยมเห็นแก่ตัวกันมาก  ขึ้น    การพัฒนาทางด้านวัตถุดูเหมือนว่าจะได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง  แต่การพัฒนาทางด้านจิตใจกลับถูกละเลย  จึงทำให้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมไทยเกิดขึ้นซึ่งนับวันจะทวีคูณและรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย 
อนึ่ง เนื่องด้วยสังคมในสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งยุคเทคโนโลยี ความทันสมัยและสิ่งยั่วยวนใจ ชวนให้หลงใหล ทำให้คนสมัยนี้อยากลอง อยากรู้ อยากดู อยากเห็น อยากทำและอยากเป็น โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของตัวเอง อีกทั้งยังขาดความคิด   ใคร่ครวญให้ดี  ในการตัดสินใจที่จะกระทำการอะไรลงไป
                เด็กวัยรุ่นหรือเยาวชนซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอนาคตของชาติ เปรียบเหมือนคนที่กำลังไม่รู้ทางที่จะเดินไป เมื่อมีใครแนะนำให้ทำสิ่งใด ก็จะทำสิ่งนั้น ในบางทีหาได้รู้ไม่ว่า สิ่งที่เขาได้ทำลงไปนั้นถูกกับกฎหมายบ้านเมือง กฎจารีตประเพณีอันดีงามของบ้านเมืองถิ่นนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่าง เยาวชนในสมัยนี้ จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง และจะคิดว่าตัวเองโตแล้ว มีความคิดเป็นตัวของตัวเอง แต่เขาหารู้ ไม่ว่า ความคิดเห็นของเขานั้นบางเรื่องมีข้อผิดพลาด โดยส่วนมากจะมีแรงบันดาลใจจากเพื่อน ซึ่งในระดับเยาวชนชั้นกลาง หรือ ระดับ มัธยม จัดอยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  การที่จะไปจ้ำจี้จ้ำไชมากเกินไปจะทำให้พวกเขายิ่งคิดว่าไม่เข้าใจในตัวพวกเขาเอง  กลายเป็นการยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แต่ถ้าตามใจมากเกินไปก็จะเป็นการปล่อยให้หลงผิด  โดยที่ตัวเขาเองคิดว่าทำถูกต้องแล้ว
                ปัญหาที่พบมากที่สุดในปัจจุบันนั้นส่วนมากเกิดจากสาเหตุคือคนขาดศีลธรรมและจริยธรรมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติดให้โทษอย่างเช่นยาบ้า กัญชา สุรา ยาอี  เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นปัญหาหลักของสังคมและประเทศชาติอยู่ในปัจจุบันนี้โดยได้แพร่กระจายมากในหมู่เยาวชนของชาติ  ทั้งในชุมชนเมืองและตามต่างจังหวัด ซึ่งในวัยอยากรู้และอยากลองนี้ เป็นเรื่องที่อันตรายที่สุด พวกเราในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่หารู้ไม่ว่าเยาวชนเหล่านี้ ใครเป็นอย่างไร แต่เพื่อเป็นการป้องกันให้เยาวชนเหล่านี้ห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติดทั้งมวล จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะกระทำตัวเป็นผู้บอกทางเดินให้เยาวชนได้รู้จักโทษของสิ่งไม่ดีเหล่านั้น
                กีฬา  กิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ  การเข้าค่าย  สิ่งนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกำลังให้การสนับสนุน เพื่อเบี่ยงเบนความสน   ใจในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างอื่น และเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนมีกิจกรรมกระทำในเวลาที่ว่าง เพื่อจะได้ไม่ต้องมั่วสุมอยู่กับสิ่งเสพติดเหล่านั้นหรือสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างอื่น   สิ่งที่กล่าวมาในเบื้องต้น ก็เป็นการนำห่างเยาวชนออกจากยาเสพติดในแง่หนึ่ง ซึ่งอาจ  เรียกได้ว่า ทางกาย  แต่ในฐานะเมืองไทยเราเป็นเมืองพุทธ  มีคำสอนขององค์พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งทางใจได้เป็นอย่างดี  โครงการนี้จึง  จะเป็นการปลูกฝังเยาวชนทางด้านจิตใจ โดยให้มีความคิดอาศัยธรรมะในขั้นพื้นฐาน  มุ่งเน้นธรรมะที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ตัว    อย่างเช่น หิริ  คือความละอาย ความละอายที่จะกระทำบาป บาปหมายถึงสิ่งที่ไม่ดีทุกอย่างไม่ว่าในที่ต่อหน้าและลับหลัง และไม่ละอายที่จะกระทำบุญทุกอย่าง   บุญหมายถึงสิ่งที่ดีงามทุกอย่าง   สิ่งที่ถูกจารีตประเพณีอันดีงามของบ้านเมืองก็จัดว่าเป็นบุญ   และโอตตัปปะ    คือความเกรงกลัว ความเกรงกลัวต่อผลแห่งบาปที่จะได้รับเมื่อทำบาป  และความยินดีต่อผลแห่งบุญที่จะได้รับในเมื่อทำบุญคือสิ่งที่ดี     สิ่งที่สังคมยอมรับว่าถูกจารีตประเพณี
และเพื่อที่จะแก้ปัญหายาเสพติดให้หมดไปจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ คือการปลูกฝังศีลธรรม  คุณธรรมและจริยธรรม ให้เกิดขึ้นใน จิตใจของเยาวชนเป็นอันดับแรก  เพราะเยาวชนนั้นถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญที่สุด ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต.

วัตถุประสงค์

-          เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าความรักของพ่อแม่และคณะครู
-          เพื่อส่งเสริมการศึกษาและให้เยาวชนได้รับประโยชน์จากการเข้าค่ายอบรม
-          เพื่อให้เยาวชนมีระเบียบวินัย ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมและความสามัคคี
-          เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนห่างไกลจากสิ่งเสพติดและอบายมุข
-          เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ประวัติพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามหลักศีลธรรม  
      คุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามในทางพระพุทธศาสนา
-          เพื่อให้เยาวชนได้นำเอาหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เอง
-          เพื่อให้เยาวชนรู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม รู้จักแยกแยะความดีความชั่วออกจากกันได้

กลุ่มเป้าหมาย

                เยาวชนชาย หญิง  ชั้นประถมศึกษาปีที่๕  ถึง มัธยมศึกษาปีที่๖

ขอบเขตโครงการ

                โครงการนี้เป็นโครงการระยะสั้น (ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์) ๓ วัน หรืออย่างมาก ๕ วัน เป็นโครงการเข้าค่ายอบรมศีลธรรม โดยจะเน้นที่การ   ฟังบรรยายตามฐานต่าง ๆ และการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสนุกสนาน ความรักและความสามัคคีกันในหมู่เยาวชนที่อบรมและความรักในสถาบันครอบครัวให้เกิดขึ้นอย่างแน่นแฟ้น

สถานที่และระยะเวลาในการอบรม

-          โรงเรียน, วัด ( สถานที่แล้วแต่เหมาะสม)

-          ระยะเวลา  จากวันศุกร์ , เสาร์ , อาทิตย์  ของเดือนหรือช่วงหลังปิดเทอมหรือก่อนเปิดเทอม  (หรือระยะเวลามากกว่านั้น   แล้วแต่ความเหมาะสม)

วิธีการดำเนินงาน

-          ติดต่อประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
-          ติดต่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำระดับหมู่บ้านจนถึงระดับจังหวัดได้รับทราบ
-          ประชุมกำหนดวัน  เวลา  เดือน  ปี และบุคคลที่เกี่ยวข้องในโครงการ
-          จัดตารางการอบรมและเตรียมสถานที่เพื่อใช้ในการอบรม

หลักสูตรและแนวการสอน

                ภาควิชาการ
-          วิชาศีลธรรม และจริยธรรม
-          วิชาศาสนพิธี
-          วิชาพุทธประวัติ
-          วิชาวัฒนธรรมไทย
-          หน้าที่ชาวพุทธสำหรับเยาวชน
-          และอื่น ๆ

ภาคปฏิบัติ

-          ทำวัตรสวดมนต์
-          ฝึกเดินจงกรม   นั่งสมาธิ   นอนสมาธิ  แผ่เมตตา 
-          ฝึกมารยาทไทย
-          ฝึกวาทศิลป์

ภาคกิจกรรม

-          จัดทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
-          ทำกิจกรรมธรรมนันทนาการอื่น    ที่เหมาะสม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

-          เจ้าคณะพระสังฆาธิการในท้องที่นั้น ๆ
-          พระมหาโตนด   กนฺตาโภ   เป็นผู้รับผิดชอบโครงการในส่วนพระวิทยากร
-          นายอิศนัย   วชิรชญากานต์  เป็นผู้รับผิดชอบประสานงาน
-          ผู้อำนวยการ หรืออาจารย์ใหญ่  อาจารย์  คณะครูประจำโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วม
-          อบต.   กำนัน    ผู้ใหญ่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง

คณะพระวิทยากรผู้ดำเนินการอบรมและบรรยาย

. พระครูบุรเขตต์ปุญญาคม   วัดคลองใหญ่  . คลองใหญ่  . ตราด   ประธานพระวิทยากร 
.พระมหาโตนด    กนฺตาโภ   .., พธ..( ครุศาสตร์ ) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   เจ้าอาวาสวัดจันทร์ จ. อ่างทอง
.พระครูสิริปัญญาวิบูลย์  .., พธ..( พุทธศาสตร์ ) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดนิมมานรดี   กทม.
.พระอธิการชูชาติ  โอภาโส พธ..(ครุศาสตร์) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   เจ้าอาวาสวัดศรีเจริญทรัพย์  .สระแก้ว
.พระมหาเฉลิมชัย  ชยเมธี  ..๙, พธ..( ครุศาสตร์ ) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดโพธ์นิมิตร   กทม.
. พระครูประวิตรวิหารการ  พธ.บ. (พุทธศาสตร์) เจ้าอาวาสวัดร่องหวาย  .เวียงเชียงรุ้ง  .เชียงราย                           
.พระมหาช่วง  ชุติมนฺตี    .., พธ..( ครุศาสตร์ ) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดสังข์กระจาย   กทม.
.พระคำจันทร์  กิตฺติวณฺโณ    พธ..(ครุศาสตร์) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดบรมสถล(วัดดอน)กทม.
๙.พระมหาพิษณุ  สญฺญเมโธ      .., วทบ.( คอมพิวเตอร์ ) .ราชภัฏสวนสุนันทา   วัดเศวตฉัตร   กทม.
๑๐.พระพิษณุ   วฑฺฒนธมฺโม  พธ..( ครุศาสตร์ ) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดบุคคโล   กทม.
๑๑.พระมหาจีรศักดิ์  จิรกิตฺติ    .., พธ..( ครุศาสตร์ ) .มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดโตนด   กทม.
               ๑๒.พระใบฎีกาปิยะพงศ์   ปิยสีโล       ... ( การบัญชี )     วัดสังข์กระจาย     กทม.
                          ๑๓.พระชุมพล  อินฺทสุวณฺโณ      วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม   กทม.
คณะวิทยากรฝ่ายฆราวาส
               . คุณวีระ  คุณวรรณรัตน์   คุณนิเวช    กลีบลัดดาวัลย์  .ไพศาลแกรนิต จำกัด   กทม.
               . ...โยธิน   แสงทองดี     โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
 
               . คุณชนิกา        แสงทองดี
              .์คุณอิศนัย        วชิรชญากานต

งบประมาณในการดำเนินงานทั้งหมด

-          ค่าอาหารและน้ำดื่มตลอดงาน
-          ค่าอุปกรณ์การจัดเตรียมงาน, สถานที่, บอร์ดประชาสัมพันธ์
-          ค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน, เอกสารงาน
-          อื่น ๆ

ที่มาของงบประมาณ

-          จากพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป
-          ขอความอุปถัมภ์จากวัด หน่วยงานราชการ   ธนาคาร  ห้างร้านต่าง ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-          เยาชนตระหนักถึงพระคุณของบิดามารดา และครูอาจารย์
-          เยาวชนสามารถที่จะเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไม่มากก็น้อย
-          เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม
-          เยาวชนสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในการแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
-          เยาวชนได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยได้อย่างภาคภูมิใจ
-          เยาวชนมีใจเป็นสมาธิ เยือกเย็นและเห็นโทษของสิ่งเสพติดและห่างไกลจากสิ่งเสพติดมากขึ้น
-          ทำให้วัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์กลางแห่งความสามัคคีและมีบทบาทในด้านศีลธรรม

สถานที่ติดต่อประสานงาน

                พระมหาโตนด  กนฺตาโภ  วัดเศวตฉัตรวรวิหาร   แขวงบางลำภูล่าง  เขตคลองสาน  กทม. ๑๐๖๐๐
               โทร. ๑๓๘๔ - ๗๔๐๘, ๒๘๖๐  ๑๖๐๔
                พระมหาจิรศักดิ์  จิรกิตติ  วัดโตนด  ภาษีเจริญ  กรุงเทพฯ โทร.081-5614019
                 พระมหาพิษณุ  สญฺญเมโธ  
วัดเศวตฉัตรวรวิหาร   แขวงบางลำภูล่าง  เขตคลองสาน  กทม. ๑๐๖๐๐ โทร. 083-082-7205, 084-880-6617
                 พระมหาช่วง  ชุติมนฺตี  วัดสังข์กระจายวรวิหาร  แขวงท่าพระ  เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพฯ  10600 โทร. 081-361-6420

                 คุณวีระ  กลีบลัดดาวัลย์   .ไพศาลแกรนิต จำกัด  25/10 ม. 8 ถ.บรมราชชนนี แขวงฉิมพลี  เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170  
                  โทร
. 0818316643
               คุณอิศนัย
  วชิรชญากานต์   .ไพศาลแกรนิต จำกัด  25/10 ม. 8 ถ.บรมราชชนนี แขวงฉิมพลี  เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
                 โทร. 086-700-7807    

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น