หน้าแรก


1.  ความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดแนวการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่า              ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันแก้ปัญหาและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กอปรกับ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของบุคคล ทำให้เกิดความยุ่งยาก ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถากรดำเนินชีวิตให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่ามีศักดิ์ศรี และมีความสุข
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัด ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้ผู้เรียนตามกลุ่มสาระที่ 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเอง ตามความถนัด และความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ คือ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม และประเทศชาติ

2.  วิสัยทัศน์
                วิสัยทัศน์ของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการ ด้วยรูปแบบ  วิธีการที่หลากหลาย ให้ได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง มีความหมาย และมีคุณค่าในการพัฒนา           ผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม มุ่งเสริมเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึ่งประสงค์ ส่งเสริมให้รู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างจิตสำนึกในธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติและดำรงชิวีติได้อย่างมีความสุข







3.  ธรรมชาติและลักษณะวิชา
                กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นการจัดกิจกรรมในลักษณะของการบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ           ที่เกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระให้มีความกว้างขาวงลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ค้นพบและใช้ศักยภาพที่มีในตนอย่างเต็มที่ เลือก ตัดสินใจ ได้อย่างมีเหตุผลเหมาะสมกับตนเอง สามารถวางแผนชีวิตและอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ เน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม และ       จริยธรรม กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมสร้างเสริมประสิทธิภาพทางการเรียน เป็นต้น
4.  คุณภาพของผู้เรียน
                                ·   คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตร
                กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอาร์ม มีกระบวนการคิด มีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม และมีความสุข มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
                                ·  คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้น
ช่วงชั้นที่ 1  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3
                รู้ความต้องการ จุดเด่นจุดด้อยของตนเองตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาง่ายๆ ของตนเองได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งใกล้ตัวและเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ช่วงชั้นที่ 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6
                รู้ความต้องการและความสนใจของตนเอง พัฒนาจุดเด่นและปรับปรุงจุดด้อย รู้และเข้าใจปัญหาที่ซับซ้อน มีการควบคุมอารมณ์และมีการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตัดสินในแก้ปัญหาตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวีการที่หลากหลายและเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ช่วงชั้นที่ 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3
                รู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเอง แสวงหาแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม รู้และเข้าใจสาเหตุของปัญหาและมีแนวทางในการแก้ปัญหา เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสามารถจัดการกับอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการทำงานในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเอง ครอบครัวโรงเรียนและสังคม สามารถค้นหา       รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายทันสมัย และสามารถเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม




ความหมาย
                กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการด้านรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย ในการพัฒนาผู้เรียนด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม มุ่งส่งเสริมเจตคติคุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สรเงจิตสำนึกในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

เป้าหมาย
                การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งพัฒนาให้บุคคลรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิด มีทักษะในการดำเนินชีบิตอย่างเหมาะสม และมีความสุข มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ โดยกำหนดเป้าหมายในการจัด      กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
1.               ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ความชำนาญ ทั้งวิชาการดูแลวิชาชีพอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.               ผู้เรียนค้นพบความสนใจ ความถนัด และพัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมองเห็นช่องทางในการสร้างงาน อาชีพในอนาคตได้เหมาะสมกับตนเอง
3.               ผู้เรียนเห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพ
4.               ผู้เรียนพัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมในการดำรงชีวิต และสร้างศีลธรรม              จริยธรรม
5.               ผู้เรียนมีจิตสำนึกและทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ










หลักการจัด
                กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีหลักการจัด ดังนี้
1.             มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติทีชัดเจนเป็นรูปแบบ
2.             จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียน
3.             บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.             ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์จิตนาการ ที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง
5.             จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม
6.             มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา
7.             ผˆเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงานประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
8.             ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจักกิจกรรม
9.             มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์การประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน


แนวการจัด
                สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม โดยคำนึงถึงแนวการจัดดังต่อไปนี้
1.             การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการโครงการ องค์ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
2.             จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ และความสามารถความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เช่น ชมรมทางวิชาการต่างๆ  เป็นต้น
3.             จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจกรรม             ลูกเสือ  เนตรนารี  เป็นต้น
4.             จัดกิจกรรมประเภทบริการต่างๆ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม






โครงสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเวลาเรียน
                1.  กิจกรรมแนะแนว  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเสริมสร้างทักษะชีวิตวุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้เชิงปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งผู้สอนทุกคนต้องทำ หน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิตการศึกษาต่อและพัฒนาตนสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
                2.  กิจกรรมนักเรียน  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่ศึกษาวิเคราะห์                วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น                   ลูกเสือ เนตรนารี โครงงาน ฯลฯ

การจัดเวลาเรียน
                ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตลอดปีการศึกษา ต้องมีเวลาเรียนประมาณ 20/ของ เวลา เรียนทั้งหมด บางกิจกรรมสามารถดำเนินการนอกเวลาเรียนก็ได้ โรงเรียนขจรทรัพย์อำรุง กำหนดเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้
กิจกรรม
ช่วงชั้นป.1-3
ช่วงชั้น ป.4-6
ช่วงชั้น ม.1-3
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
1. แนะแนว
40
40
40
40
40
40
40
40
40
  - ทักษะการรู้แสวงหาและใช้ข้อมูล









  - ทักษะการมีวิสัยทัศน์









  - ทักษะการสื่อสารและสร้างความ
     สัมพันธ์กับผู้อื่น









  -  ทักษะการคิด ตัดสินใจ และแก้
      ปัญหา









   - ทักษะการปรับตัว









   - ทักษะการทำงานเป็นทีม









   - ทักษะการวางแผน และการ                    
      จัดการ









   - ทักษะการกล้าเสี่ยง









2.  กิจกรรมนักเรียน









    - ลูกเสือ เนตรนารี
40
40
40
40
40
40
40
40
40
    - ชุมนุม / โครงสร้าง
40
40
40
40
40
40
40
40
40
รวมทั้งสิ้น
120
120
120
120
120
120
120
120
120
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.             กิจกรรมแนะแนว
2.             กิจกรรมนักเรียน
-         ลูกเสือ เนตรนารี
-         กิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ
-         กิจกรรมอื่น ๆ

กิจกรรมแนะแนว ประกอบด้วย
v  กลุ่มกิจกรรมรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
v  กลุ่มกิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต
v  กลุ่มกิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
v  กลุ่มกิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ

กลุ่มกิจกรรมรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงขั้น
ป. 1 3
ป. 4 6
ม. 1 3
- รับรู้ความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
- รู้จุดเด่นด้อยของตนเอง
- รู้และเข้าใจความสนใจความ
ถนัดความสามารถด้านการเรียน 
และการงาน
- ภูมิใจตนเองและชื่นชมผู้อื่น
- รู้และเข้าใจปัญหาของตนเอง
- รับรู้และเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
- พัฒนาจุดเด่นปรับปรุงจุดด้อยของตนเอง
- รู้และเข้าใจความสนใจความถนัดด้านการเรียนและอาชีพ
- ภูมิใจใจตนเองและชื่นชมผู้อื่น
- รับรู้และเข้าใจปัญหาซับซ้อน
- รับรู้และเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
- แสวงหาแบบอย่างที่ดีและเหมาะสมกับตนเอง
- รู้และเข้าใจความสนใจ ความถนัดด้านการเรียน อาชีพและบุคลิกภาพของตนเอง
- รักและนับถือตนเองและผู้อื่น
- รู้และเข้าใจสาเหตุของปัญหาของตนเอง และมีแนวทางในการปัญหา





กลุ่มกิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต

มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
ป. 1 - 3
ป. 4 - 6
ม. 1 - 3
- รับรู้ความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
- มีสามารถในการสื่อความรู้สึกและความต้องการของตนเองให้     ผู้อื่นรับรู้
- แสดงออกทางอารมณ์เหมาะสมกับวัย
- เป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี
- มีความสามารถในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- เข้าใจแลยอมรับความต้องการ และความรู้สึกของผู้อื่น
- มีสามารถในการสื่อสารความคิดความรู้สึกให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามสถานการณ์
- มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์และแสดงออกได้เหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
- ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
- มีความสามารถในการทำงานตามบทบาท หน้าที่ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
- มีสามารถในการสื่อสารความคิดความรู้สึกให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
- มีความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
- ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
- มีความสามารถในการทำงานตามบทบาท ในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข












กลุ่มกิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ป. 1 - 3
ป. 4 - 6
ม. 1 3
- มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาง่าย ๆ ของตนเอง
- มีความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาของตนเองและร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวและโรงเรียน
- มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาของตนเองและร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว โรงเรียนและสังคม





กลุ่มกิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ป. 1 3
ป. 4 - 6
ม. 1 3
- มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่อยู่ใกล้ตัว
- มีความสามารถเลือกและใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- มีความสามารถเลือกและใช้        ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- มีความสามารถในด้านค้นหารวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลเฉพาะด้านจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายทันสมัย
- มีความสามารถในการเลือกสรรและใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองสังคม








การประเมินผล
                การประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง สำหรับการผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร ผู้เรียนต้องเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดจน ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดตามแนวประเมิน ดังนี้
1.             ประเมินการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริงให้ได้ผลการประเมินที่ถูกต้อง ครบถ้วน
2.             ครูที่ปรึกษากิจกรรม ผู้เรียนและผู้ปกครอง จะมีบทบาทในการประเมินดังนี้
                        ครูที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
Ø ต้องดูแลและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
Ø ต้องรายงานเวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
Ø ต้องศึกษาติดตาม และพัฒนาผู้เรียนในกรณีผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม
                        ผู้เรียน
Ø ปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
Ø มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 80% หรือตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด พร้อมทั้งแสดงการปฏิบัติกิจกรรม และพัฒนาการด้านต่างๆ
Ø ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูที่ปรึกษากิจกรรมอบรม หรือให้ความเห็นชอบตามที่ผู้เรียนเสนอ
Ø ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกิจกรรม
                        ผู้ปกครอง
Ø ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการติดตามพัฒนาการของผู้เรียนกับสถานศึกษาเป็นระยะ ๆ
Ø ผู้ปกครองบันทึกความเห็น สรุปพัฒนาการและการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน
3.             เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                        ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 80% หรือตามที่สถานศึกษากำหนด
                        ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ที่สำคัญของแต่ละกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น